สารบัญ
เรื่อง หน้า
ความเป็นมาอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 1-2
สภาพภูมิอากาศ 3-4
ทรัพยากรสัตว์ป่า 5-7
โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีฯ 7
ชุมชนที่อาศัยอยู่ในและรอบแนวเขตอุทยานฯ 8-9
สถานที่ท่องเที่ยว 10-11
เรื่อง หน้า
ความเป็นมาอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 1-2
สภาพภูมิอากาศ 3-4
ทรัพยากรสัตว์ป่า 5-7
โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีฯ 7
ชุมชนที่อาศัยอยู่ในและรอบแนวเขตอุทยานฯ 8-9
สถานที่ท่องเที่ยว 10-11
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ความเป็นมา กลับสารบัญ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อ พ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่)
ดอยอ่างกา มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากยอดดอยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำแห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่าง ฝูงกาจำนวนมากมายมักพากันไปเล่นน้ำที่หนองน้ำแห่งนี้ จึงพากันเรียกว่า "อ่างกา" และภูเขาขนาดใหญ่แห่งนั้นก็เลยเรียกกันว่า "ดอยอ่างกา"แต่ก็มีบางกระแสกล่าวว่า คำว่า "อ่างกา" นั้น แท้จริงแล้วมาจากภาษาปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) แปลว่า "ใหญ่" เพราะฉะนั้นคำว่า "ดอยอ่างกา" จึงแปลว่าดอยที่มีความใหญ่นั่นเอง
ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์"
แต่มีข้อมูลบางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์"
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มีพื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6 ดังนี้
"เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดมีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยประกาศพระราชกฤษฎีกาด้วยบริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า อุทยานแห่งชาติ"
กฎหมายที่รองรับและเกี่ยวข้อง กลับสารบัญ
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
สภาพภูมิอากาศ
เนื่องจากอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ดังนั้น สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่อุทยานฯ จึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามา ทำให้ฝนตก และลมตะวันออกเหนือที่พัดมาจากประเทศจีน จะนำเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามา ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ โดยจะมีฤดูร้อนในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ? พฤษภาคม ฤดูฝนในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ? พฤศจิกายน และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม ? กุมภาพันธ์ สลับกันไป
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพทางกายภาพของพื้นที่อุทยานฯ มีความหลากหลายทางด้านระดับความสูงของพื้นที่และมีลักษณะของพื้นที่เป็นเทือกเขาที่สลับซับซ้อนและสูงมาก (ระดับความสูงระหว่าง 400 ? 2,565 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) อีกทั้งพื้นที่อุทยานฯ ค่อนข้างจะกว้างขวางถึง 301,500 ไร่ ทำให้ลักษณะอากาศในแต่ละจุดในพื้นที่ของอุทยานฯ มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยจะมีลักษณะของสภาพอากาศแบบเขตร้อน (tropical climate) ในตอนล่างของพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ลงมา มีสภาพอากาศแบบกึ่งเขตร้อน (sub-tropical climate) ในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ที่มีระดับความสูงระหว่าง 1,000 ? 2,000 เมตร และมีสภาพอากาศแบบเขตอบอุ่น (temperate climate) ในพื้นที่ที่มีระดับสูงกว่า 2,000 เมตรขึ้นไป โดยเฉพาะที่บริเวณยอดดอยอินทนนท์
ซึ่งสภาพภูมิอากาศดังกล่าวจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจากสภาพของป่าชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ในพื้นที่ที่สูงตอนบนของอุทยานฯ โดยทั่วไปแล้วจะมีสภาพที่ชุ่มชื้นและหนาวเย็นตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสันเขาและยอดเขา จะมีกระแสลมที่พัดแรงและมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นมาก และในช่วงวันที่หนาวจัดในช่วงฤดูหนาวในเดือนธันวาคม - มกราคม อุณหภูมิจะลดต่ำลงถึง 0 ? 4 องศาเซลเซียส และจะมีน้ำค้างแข็ง (frost) เกิดขึ้นที่ระดับกลาง ๆ ของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีลักษณะค่อนข้างเย็นและชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี (annual mean temperature) ประมาณ 20 องศาเซลเซียส (ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 26 องศาเซลเซียส) ในช่วงฤดูหนาวในเดือนธันวาคม ? มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย (mean temperature) จะอยู่ระหว่าง 15 ? 17 องศาเซลเซียส และจะมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด (mean minimum temperature) 10 ? 14 องศาเซลเซียส สภาพความชุ่มชื้นของอุทยานฯ โดยทั่วไปจะชื้นกว่าตัวเมืองเชียงใหม่มาก โดยจะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,000 ? 2,100 มิลลิเมตร มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีประมาณ 80 % ซึ่งในตัวเมืองเชียงใหม่จะมีปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยประมาณ 1,200 มิลลิเมตร และ 70 % สำหรับในพื้นที่อุทยานฯ ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,800 เมตร ขึ้นไป จะมีสภาพอากาศที่เย็นและชุ่มฉ่ำอยู่ ทั้งนี้เพราะจะเป็นระดับความสูงของเมฆหมอก ทำให้สภาพป่ามีเมฆและหมอกปกคลุมเกือบตลอดปี ทำให้ป่าดิบเขาของอุทยานฯ สามารถที่จะดูดซับเอาความชื้นจากละอองเมฆและหมอกหล่อเลี้ยงพื้นที่ตลอดปี
ทรัพยากรสัตว์ป่า กลับสารบัญ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนไม่น้อย เท่าที่พบมีทั้งหมด 446 ชนิดพันธุ์ แยกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ นกป่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิดพันธุ์ของสัตว์ประเภทนี้ที่พบมีอยู่ 39 ชนิดพันธุ์ ในอดีตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมมากของสัตว์ป่าประเภทนี้ แต่ในช่วง 2 ? 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และการล่าคุกคามความเป็นอยู่ของสัตว์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สัตว์ที่เหลืออยู่ส่วนมากเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น พวกกระรอก (Squirrel) กระแตธรรมดา (Common Tree Shrew) กระเล็นขนปลายหูสั้น (Burmese Striped) อ้นเล็ก (Cannomys badius) เม่นหางพวง (Atherurus macrourus) อีเห็นข้างลาย (Paradoxurus hemaphroditus) และชะมดแผงสั้นหางดำ (Viverra megaspila) เป็นต้น
นก พบในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 382 ชนิดพันธุ์ จากจำนวนดังกล่าว แยกเป็นนกประจำถิ่น (resident bird) รวม 266 ชนิดพันธุ์ นกอพยพย้ายถิ่น (migratory bird) อีกจำนวน 104 ชนิดพันธุ์ ส่วนที่เหลืออีก 12 ชนิด ไม่ทราบถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน
สัตว์เลื้อยคลาน พบไม่น้อยกว่า 29 ชนิดพันธุ์ ชนิดพันธุ์ที่น่าสนใจได้แก่ เต่าหก (Testudo emys) ซึ่งเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่สุดของประเทศ เต่าปูลู (Platysternum megacephalus) จิ้งเหลนน้ำพันธุ์ไทย (Tropidophorus berdmori) จิ้งเหลนเรียวจุดดำ (Leiolopisma melanostictum) จิ้งจกหางแหลม (Hemidactylus frenatus) ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko) งูลายสาบคอแดง (Rhabdophis subminiatus) งู และสัตว์เลื้อยคลานชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบว่า สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด เช่น แลน หรือตะกวด (Varanus bengalensis) และงูเหลือม (Python reticulatus) เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ จนปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก
ตามแนวลาดเขาหรือยอดเขาหลายแห่งในพื้นที่ซึ่งมีลักษณะด้านหนึ่งเป็นผาหินสูงชัน มีพันธุ์ไม้พุ่มและไม้ล้มลุกหลายชนิดขึ้นปกคลุม บางจุดมีหญ้าขึ้นแทรกปะปน และอีกด้านหนึ่งเป็นพื้นที่ค่อย ๆ ลดลง มีหมู่ไม้ใหญ่ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ของป่าดงดิบเขาปกคลุมแน่นทึบ ลักษณะสภาพดังกล่าวเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของกวางผา (Naemorhedus goral) สัตว์ป่าสงวนที่หายาก 1 ใน 15 ชนิดของประเทศ สัตว์ป่าอื่น ๆ ที่ยังพอเห็นได้ในปัจจุบัน ได้แก่ เลียงผา (Capricornis sumatraensis) เม่นหางพวง (Atherurus macrourus) และค้างคาวชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิดซึ่งเข้าไปหลบอาศัยอยู่ภายในถ้ำ หรือซอกผาที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของผาหิน
โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีฯ กลับสารบัญ
ไปทางขุนวางบริเวณกิโลเมตรที่ 8 มีลักษณะเป็นสวนหิน ตบแต่งด้วยพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มากมาย ทางโครงการฯ ได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีจากทั่วประเทศมาทำการเพาะเลี้ยงและจักตกแต่งสวนไว้อย่างสวยงาม
ชุมชนที่อาศัยอยู่ในและรอบแนวเขตอุทยานฯ กลับสารบัญ
ชุมชนที่อาศัยอยู่ในและรอบแนวเขตอุทยานฯ ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวเขาเผ่าม้ง ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงหรือปกากะญอ ชาวไทยพื้นราบหรือคนเมือง ทั้งที่อาศัยอยู่มาดั้งเดิมหรืออพยพเข้ามาประมาณ 20 ? 30 ปีที่ผ่านมา กลุ่มชนผู้อพยพเดินทางมุ่งหน้าเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนผืนดินแห่งหุบเขาของเทือกเขาอินทนนท์ กลุ่มชนแรกก็คือ ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง จนมาในปี พ.ศ. 2433 เป็นปีแรกที่ชาวเขาเผ่าม้งเดินทางอพยพมาถึงดอยอินทนนท์ และเริ่มตั้งบ้านเรือนอย่างถาวรอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
กะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอญอ
กะเหรี่ยงจะตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณภูเขาที่ไม่สูงนัก หรือตามพื้นราบ แต่ละหมู่บ้านจะมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึง 30 ? 40 หลังคาเรือน ลักษณะของบ้านจะเป็นไม้ไผ่สับฟาก หลังคามุงด้วยใบตองตึงหรือหญ้าคา ภายในเป็นห้องเดียวโล่ง มีเตาไฟอยู่กลางบ้านสำหรับใช้หุงต้มอาหารและให้ความอบอุ่น ลักษณะเด่นของกะเหรี่ยงที่ไม่เหมือนกับชาวเขาเผ่าอื่น ๆ ก็คือ การตั้งหมู่บ้านอย่างถาวร ทั้งนี้เพราะความสามารถในการอนุรักษ์ดิน และการทำนาแบบขั้นบันไดตามไหล่เขา ซึ่งสามารถที่จะทดน้ำจากลำห้วยลำธารที่อยู่สูงกว่าพื้นที่นาเข้าไปใช้ได้ กะเหรี่ยงเป็นชาวเขาเผ่าเดียวที่ไม่นิยมโค่นไม้ทำลายป่าการปกครองในหมู่บ้านกะเหรี่ยงจะมี 3 ฝ่าย คือ หัวหน้าหมู่บ้าน หมอผี และกลุ่มผู้อาวุโสหัวหน้าหรือผู้นำหมู่บ้านจะเรียกว่า ฮีโข่ ซึ่งมีการสืบทอดสายเลือดมาทางบิดา สำหรับหมอผีจะมีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมและรักษาโรค ส่วนกลุ่มผู้อาวุโสจะเป็นผู้ที่รักษากฎ จารีตประเพณี ตัดสินคดีความและเป็นที่ปรึกษาให้กับหัวหน้าหมู่บ้านกะเหรี่ยงเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเองเพื่อการยังชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ ทำนาเป็นขั้นบันไดตามหุบเขา และปลูกพืชผักต่าง ๆ โดยการทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียน คือ การทำไร่ข้าวหรือปลูกพืชผักในไร่ใด ๆ ก็ตาม จะทำเพียงปีเดียวแล้วย้ายไปที่อื่น และปล่อยไร่พักทิ้งไว้ประมาณ 3-5 ปี เพื่อให้ดินได้พักฟื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ แล้วจึงย้อนกลับมาทำไร่ในพื้นที่นั้นอีก นอกจากการทำเกษตรกรรมแล้ว กะเหรี่ยงยังเลี้ยงสัตว์ประเภท วัว ควาย หมู ไก่ เพื่อใช้ในพิธีกรรมและใช้เป็นแรงงาน ส่วนช้างจะเลี้ยงไว้เพื่อรับจ้างทำงานและแสดงถึงความมีฐานะด้วย
ประเพณีและพิธีกรรมของกะเหรี่ยงจะมีความเชื่อและนับถือในเรื่องผีและวิญญาณ ผีที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือจะมีอยู่ 2 อย่าง คือ ผีบ้านและผีเรือน กะเหรี่ยงนับถือคริสต์ศาสนาและพุทธศาสนา ซึ่งก่อให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมในเผ่า อย่างเช่น ประเพณีปีใหม่ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีเกี้ยวสาว ประเพณีแต่งงาน และประเพณีงานศพสำหรับเรื่องคู่ครองของกะเหรี่ยง จะยึดหลักการครองเรือนแบบผัวเดียวเมียเดียว โดยตามประเพณีจะห้ามไม่ให้หญิงชายถูกเนื้อต้องตัวกันก่อนที่จะแต่งงาน เพราะถือเรื่องความบริสุทธิ์ทางเพศเป็นสิ่งสำคัญ หากมีการฝ่าฝืนจะถูกลงโทษโดยการปรับไหม หรือถ้ามีชู้ผิดลูกผิดเมียคนอื่นจะมีโทษถึงขั้นไล่ออกไปจาหมู่บ้านทันที สำหรับหญิงกะเหรี่ยงที่แต่งงานแล้วหรือยังไม่ได้แต่งงาน เราจะสังเกตได้จากการแต่งกาย ถ้าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะสวมชุดขาวทรงกระสอบ ถ้าหญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมชุด 2 ท่อน คือ นุ่งผ้าซิ่นและใส่เสื้อครึ่งท่อน ด้วยเหตุนี้จึงสามารถเห็นได้อย่างเด่นชัดระหว่างหญิงกะเหรี่ยงที่ยังโสดกับหญิงที่แต่งงานแล้ว
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกแม่กลาง กลับสารบัญ
น้ำตกแม่กลางเป็นจุดแรกของประตูเข้าสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สายน้ำอันเย็นฉ่ำที่ตกผ่านหน้าผาขนาดใหญ่ น้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ 100 เมตร ไหลพวยพุ่งมาสู่โกรกเขา ซึ่งเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีชื่อว่า วังน้อยและวังหลวง ในช่วงฤดูฝนน้ำไหลแรงและขุ่นข้นมาก น้ำในแอ่งลึกมาก หากถูกกระแสน้ำปะทะก็อาจจะตกลงไปในแอ่งน้ำ ซึ่งมีน้ำไหลเชี่ยวกราก นักท่องเที่ยวควรระมัดระวังเรื่องค
วามปลอดภัยของตนเอง
พระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ
เป็นพระธาตุที่ทางกองทัพอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศ ร่วมใจสร้างถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อปีพุทธศักราช 2530 และเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2535 โดยรอบบริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ทั้ง 2 องค์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยอินทนนท์โดยรอบได้อย่างชัดเจน พระมหาธาตุทั้ง 2 องค์นี้ มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน คือ มีฐานเป็นรูป 12 เหลี่ยม มีระเบียงแก้วโดยรอบเป็น 2 ระดับ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปบูชา